Last updated: 20 ส.ค. 2565 | 1120 จำนวนผู้เข้าชม |
"สารประกอบที่พบในต้นกัญชงนั้น อาจช่วยในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส Covid-19"
โดยนักวิจัยได้ค้นพบว่า สารเคมีในต้นพืชเฮมพ์ (hemp, cannabis sativa) หรือคนไทยเรียกว่า “กัญชง” ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกัน หรือเป็นญาติสนิทกับต้น “กัญชา” แต่มีปริมาณสารทีเอชซี (THC) ซึ่งเป็นสารเคมีออกฤทธิ์ที่ก่อให้เกิดอาการไฮ หรือเมาลอยในต้นกัญชา ที่ต่ำกว่าในต้นกัญชา
นักวิจัยจากศูนย์ Oregon State’s Global Hemp Innovation Center ของสถาบัน College of Pharmacy and Linus Pauling Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ศึกษา และตีพิมพ์ผลการวิจัยลงในวารสารผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ (Journal of Natural Products) โดยมีเนื้อหาที่สำคัญคือ นักวิจัยได้ทดลองและพบว่ามีสารเคมีในต้นกัญชงสามารถป้องกันไวรัสโคโรน่าเจาะเข้าไปในเซลล์ของมนุษย์ได้
Richard van Breemen พร้อมกับนักวิจัยจากสถาบันดังกล่าว พบว่ามีกรดคานนาบินอยด์ (cannabinoid acids ) 2 ตัว ซึ่งเป็นสารที่พบในต้นพืชตระกูลกัญชาและกัญชง ที่สามารถจับกับส่วนของโปรตีนหนามของไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2 spike protein) ได้อย่างเหมาะเจาะ
การจับกันระหว่างโปรตีนของไวรัสและสารจากต้นกัญชงนี้มีความสำคัญมาก ที่จะช่วยยับยั้งขั้นตอนการเจาะเข้าไปอาศัยอยู่ในเซลล์ของมนุษย์ เพื่อแบ่งจำนวนและสร้างลูกหลาน กล่าวอีกอย่างคือ สารจากกัญชงป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์ของร่างกายได้ เมื่อเข้าไปไม่ได้ไวรัสก็จะไม่มีพลัง และไม่สามารถรอดพ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำหน้าที่เหมือนทหาร ค่อยทำลายไวรัสแปลกปลอม
กรดคานนาบินอยด์ดังกล่าวนั้น พบได้เป็นจำนวนมากในต้นกัญชง และในสารสกัดทั่วไปจากกัญชง แต่สารเคมีดังกล่าวไม่ได้ถูกจัดเป็นสารเสพติด หรือสารควบคุมเหมือนอย่างสารทีเอชซี ดังนั้น จึงมีความปลอดภัยอย่างสูงเมื่อเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ โดยชื่อของสารทั้ง 2 ตัวคือกรดคานนาไบเจอโรลลิค (Cannabigerollic acid หรือ CBGA) และ กรดคานนาไบไดโอลลิค (Cannabidiolic acid หรือ CBDA) ทั้งสองสามารถจับกับโปรตีนหนามของไวรัส ซึ่งเป็นเป้าหมายเดียวกันกับวัคซีนทุกชนิดที่ใช้ฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อช่วยกระตุ้นภูมิคุ้นกันต่อไวรัสโคโรน่า
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยได้ใช้เซลล์ไตของมนุษย์ในการศึกษา ซึ่งอาจให้ผลที่เหมือนกัน หรือแตกต่างออกไปในเซลล์อื่นๆ เช่น เซลล์เยื้อบุรอบปอด เป็นต้น แต่ได้มีงานวิจัยก่อนหน้าที่ค้นพบว่ากรดซีบีจีเอและซีบีดีเอ ก็สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเซลล์เยื้อบุของมนุษย์ได้ดี แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่จะนำมาต่อยอดเป็นยารักษา หรือป้องกันการเข้าสู่ร่างกายของไวรัสได้ในอนาคต
เนื่องจากไวรัสโควิด-19 ตอนนี้มีการกลายพันธุ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก คำถามคือ กรดคานนาบินอยด์ทั้งสองนั้น สามารถช่วยป้องกันสายพันธุ์ไหนบ้าง? นักวิจัยจึงเปิดเผยว่า สารกัญชงที่ว่านี้ออกฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพได้เท่ากันต่อสายพันธุ์ B.1.1.7 ที่พบครั้งแรกในประเทศอังกฤษ หรือสายพันธุ์อัลฟา (Alpha variant) และสายพันธุ์ B.1.351 ซึ่งเจอรายงานครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้ (South Africa) หรือสายพันธุ์บีต้า (Beta variant) ถึงแม้ว่างานวิจัยดังกล่าวจะเป็นผลการศึกษาที่ใช้เพียงแค่เซลล์ของมนุษย์เท่านั้น แต่นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้นักวิจัยรอบโลกนำผลการวิจัยเบื้องต้นชิ้นนี้ ไปต่อยอดและพัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถทดสอบในมนุษย์
นอกจากนี้ อาจต้องนำเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ชนิดใหม่ๆ รวมไปถึงโอมิครอนเข้ามาใช้ทดสอบประสิทธิภาพของสารทั้งสองด้วย ไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้ สารทั้งสองชนิดจากต้นกัญชงอาจใช้ควบคู่ไปกับวัคซีนหรือยารักษาโควิด-19
บทความนี้นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ทางการแพทย์ของกัญชาและกัญชงแล้ว ยังตอกย้ำให้เห็นว่า สารจากพืชตระกูลกัญชานั้นมีประโยชน์อย่างกว้างขวางในวงการแพทย์ และครอบคลุมในหลายๆ โรคที่เกิดขึ้นในร่างกายของมนุษย์ เนื่องจากทั้งกรดซีบีจีเอและกรดซีบีดีเอ ที่พบในต้นกัญชงนั้น ร่างกายไม่สามารถได้รับผ่านการสูบกัญชา ดังนั้น การสูบกัญชาจึงยังไม่มีหลักฐานมายืนยันว่าจะสามารถช่วยลดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ แต่สารทั้งสองอาจได้รับผ่านการใช้สารสกัดจากต้นกัญชงที่อยู่ในรูปแบบอาหาร เป็นต้น
ที่มา : https://weedhub.asia
สนใจ
สารสกัดจากกัญชง
ต้นกล้ากัญชง
น้ำมันกัญชง
ติดต่อฝ่ายขายได้ที่
089-449-7186 ,089-497-9681
ช่องทางการติดต่อ
Line Id : @energrow.th
Instagram : https://www.instagram.com/energrowthailand
Facebook : https://www.facebook.com/energrowthailand
Website : https://www.energrowthailand.com
Tel : (02)184-2552 Fax : (02)944-4693